เมนู

5. เจโตขีลสูตร


ว่าด้วยตะปูตรึงใจ 5 ประการ


[205] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ
ไม่เลื่อมใสในศาสดา ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่
เลื่อมใสในศาสดา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 1.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่
เลื่อมใสในธรรม
ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส
ในธรรม จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 2.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่
เลื่อมใสในพระสงฆ์
ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่
เลื่อมใสในพระสงฆ์ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 3.
อีกบระการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่
เลื่อมใสในสิกขา
ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส
ในสิกขา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 4.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมโกรธ มีใจไม่แช่มชื่น มีจิตอันโทสะกระทบ
แล้ว กระด้างในพวกเพื่อนพรหมจรรย์ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมใจ

เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ 5.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ 5 ประการนี้แล.
จบเจโตขีลสูตรที่ 5

อรรถกถาเจโตขีลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในเจโตขีลสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เจโตขีลา ได้แก่ ความกระด้าง ความเป็นขยะ ความเป็น
หลักตอแห่งจิต. บทว่า สตฺถริ กงฺขติ ความว่า ภิกษุย่อมสงสัยในพระ-
วรกาย หรือในพระคุณของพระศาสดา. เมื่อสงสัยในพระวรกาย ย่อมสงสัยว่า
พระวรกาย ชื่อว่าประดับด้วยปุริสลักษณะ 32 มีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้
เมื่อสงสัยในคุณ ย่อมสงสัยว่า พระสัพพัญญุตญาณซึ่งสามารถรู้อดีต อนาคต
และปัจจุบันมีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้. บทว่า วิจิกิจฺฉติ ได้แก่ เลือกเฟ้น
ยาก ย่อมถึงความลำบาก คือไม่สามารถจะตัดสินใจได้. บทว่า นาธิมุจฺจติ
ได้แก่ ย่อมไม่ได้ความน้อมใจเชื่อว่าสิ่งนั้นอย่างนี้. บทว่า น สมฺปสีทติ
ความว่า หยั่งลงในคุณแล้วก็ไม่สามารถจะเลื่อมใส คือมีใจไม่ขุ่นมัว เพราะ
ไม่มีความสงสัยได้. บทว่า อาตปฺปาย ได้แก่ เพื่อทำความเพียรเผาผลาญ
กิเลส. บทว่า อนุโยคาย ได้แก่ เพื่อความประกอบบ่อยๆ. บทว่า สาตจฺจาย
ได้แก่ เพื่อทำติดต่อกัน. บทว่า ปธานาย ได้แก่ เพื่อตั้งความเพียร. บทว่า
อยํ ปฐโม เจโตขีโล ความว่า ภาวะนี้เป็นความกระด้างแห่งจิตข้อที่หนึ่ง
คือความสงสัยในพระศาสดานี้ อย่างนี้แล ภิกษุนั้นก็ละยังไม่ได้.